วช. ขอแสดงความยินดีกับทีมผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน “ หนูน้อยจ้าวเวหา ” SR.THREE จากโรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี จ.ปัตตานี ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ...

ที่ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี / เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ  สถานีโทรทัศน์ Thai PBS และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จัดการแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับ รายการ “ หนูน้อยจ้าวเวหา ” ประเภทยุทธวิธี (Aviation Mastery) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการจัดการแข่งขัน พร้อมด้วย นายอิสสระ สมชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นายกานต์ กัลป์ตินันท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และ นายพุฒิเมธ พวงจันทึก ผู้อำนวยการโรงเรียนพิบูลมังสาหาร เป็นผู้อัญเชิญถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการจัดการแข่งขันดำเนินการโดย นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พร้อมคณะ  และ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ให้การสนับสนุนในการถ่ายทอดสดการแข่งขันดังกล่าว 







การแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับครั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ในรายการ “ หนูน้อยจ้าวเวหา ” ประเภทยุทธวิธี (Aviation Mastery) โดยการแข่งขันในรอบต่างๆ มีทีมที่ได้รับรางวัลดังนี้..

• ทีมชนะเลิศซึ่งได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้แก่..

ทีม SR. THREE จากโรงเรียน ศิริราษฎร์สามัคคี จังหวัดปัตตานี 

• รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้รับถ้วยผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่..

ทีมอัสสัมชัญโคราช จากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา 

• รองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับถ้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่..

ทีมคนหัวใจสิงห์ ทีม 2 จากโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

• รองชนะเลิศอันดับสาม ได้รับถ้วยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้แก่..

ทีม Drone D. จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี จัดขึ้น ณ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. วช. ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและบ่มเพาะสมรรถนะเยาวชนด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยนำเทคโนโลยีโดรน มาเสริมทักษะความรู้ด้านซอฟต์แวร์การเขียนโปรแกรมให้กับเยาวชน เพื่อให้มีพัฒนาการของการเรียนรู้ที่ทันสมัยตามเทคโนโลยีในปัจจุบัน และ ตามนโยบาย อว. for AI










ทั้งนี้ การแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับ รายการ “หนูน้อยจ้าวเวหา” จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ และพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การบิน ให้เยาวชนไทยได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ โดย วช. ได้ให้การสนับสนุนสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดการอบรมให้ความรู้การเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการใช้โดรน และการมีเวทีการแข่งขันเครื่องบินจำลอง และวิทยุบังคับเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการและเวทีประลอง “ หนูน้อยจ้าวเวหา ” ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS อีกด้วย ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...