สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 งานวิจัย ' จากหิ้งสู่ห้าง ' เพิ่มศักยภาพการแข่งขันประเทศ พร้อมวางจำหน่ายครั้งแรกของโลกแล้ว ณ ร้านมูลนิธิโครงการหลวง ...
โครงการวิจัยเรื่อง “ การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีก่อนและหลังเก็บเกี่ยวสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 ในเขตภาคเหนือ ” ดำเนินโครงการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท และคณะนักวิจัย แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตสารแอนโทไซยานินในสตรอว์เบอร์รี ณ สถานีเกษตรโครงการหลวงทุ่งหลวง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า.. สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์ 329 เป็นสายพันธุ์พ่อและสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80 เป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2563 ทำให้สตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่เทียบเท่าสตรอว์เบอร์รี่เกาหลี อีกทั้งมีกลิ่นหอม ทนต่อการขนส่ง และมีปริมาณสารแอนโทไซยานินหรือสารต้านอนุมูลอิสระสูง เฉลี่ย 40.83 มิลลิกรัม / 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์การค้าทั่วไป 1-2 เท่า ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงเหมาะแก่การนําไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยสายพันธุ์นี้ได้รับพระราชทานนามว่า " สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 " ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน คณะนักวิจัยได้ทำการทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 ในแปลงปลูกของสถานีวิจัยเกษตรโครงการหลวง ทั้ง 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่.. สถานีเกษตรหลวงทุ่งหลวง อำเภอแม่วาง, สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง, สถานีเกษตรหลวงแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม และ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง ซึ่งหากผลการทดลองเป็นที่สำเร็จแล้ว จะทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรสามารถผลิตสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 89 ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น