วว. ร่วมขับเคลื่อน ธรรมาภิบาล,บรรษัทภิบาล เสริมสร้างความเข้มแข็ง ป้องกัน ปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ...
ที่ห้องนนทบุรี 1 ชั้น 3 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. (สนามบินน้ำ) / วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง “ การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาล ” ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 51 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการกำกับดูแลองค์กรให้ดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมี นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ การยกระดับธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ” พร้อมทั้งเป็นสักขีพยานร่วมกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) โอกาสนี้ ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหาร วว. ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีด้วย
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า.. วว. ตระหนักถึงความสำคัญและการเสริมสร้างคุณธรรมความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้มีการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
โดย วว. กำหนดนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนี้ 1) ผู้บริหารและพนักงาน ปฏิบัติและประพฤติตน ตามกฎระเบียบ คำสั่งข้อบังคับ และนโยบายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด 2) ผู้บริหารและพนักงาน ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความโปร่งใส มีการเตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบ และเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา และ 3) ผู้บริหารและพนักงาน ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest)
สำหรับแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) ประกาศและเผยแพร่เจตนารมณ์และนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อสาธารณะ 2) ปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งการให้ หรือรับสินบน โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในทุกรูปแบบ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม 3) ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการแสดงเจตนาถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ในการให้หรือรับสินบน แก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หรือเรื่องที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่ตนเอง ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น