อว.​ ผนึกกำลัง มรภ.​ 38​ สถาบัน ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น​ ปีที่ 2 ...

ที่ โรงแรม เซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ / เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดกิจกรรม “ การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2 ” ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2 ทั้ง 7 ภูมิภาค เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวในการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่เข้าสู่ชุมชนและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาด และได้รับเกียรติ​จาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น​ประธานเปิดงานฯ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้การต้อนรับ​และกล่าวรายงาน​ฯ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และ ผู้บริหาร​ ม.ราชภัฏ ​เข้าร่วมงานฯ 

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า.. กิจกรรมการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2 ” โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. สนับสนุนงบประมาณให้กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยพัฒนาบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจบริการมูลค่าสูง และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่สำคัญ ในการสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างทั่วถึง โดยมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จากแนวคิด BCG Model สู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศเป็นแนวทางที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนประเทศ ตามแนวทางของรัฐบาล 












“ โดยการใช้องค์ความรู้ด้านการวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อีกทั้ง กิจกรรมในวันนี้ยังเป็นการสื่อสารเพื่อเชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อมาร่วมกันเสวนาถึง การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อนำไป สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้อย่างแท้จริงตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 เครือข่ายอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นักวิจัย และ ทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดผลงานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนด้วยการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว. กล่าว

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็งด้วยการสนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากร และพัฒนาระบบนิเวศการวิจัยและ นวัตกรรมตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ได้สนับสนุนแผนงานวิจัย เรื่อง “ การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2 ” โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อ พัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งการดำเนินงานอาศัยกลไกความ ร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ และหน่วยงาน ภาคี ในการยกระดับขีดความสามารถ ของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชิงสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม เพื่อเพิ่ม มูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับการดำเนินงานได้ต่อยอดจากผลการดำเนินงานในปีแรก โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในประเภทต่าง ๆ โดยมีความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ 









“ นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ สู่สาธารณชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับนโยบาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้  ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับ ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2565 วช. ได้สนับสนุนโครงการ “ การยกระดับ ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิง นวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์ พื้นถิ่นด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรมบน ฐานเศรษฐกิจ BCG ”  การบูรณาการต่อยอดให้เกิด ความยั่งยืนด้วยทุนทางทรัพยากรชุมชนสู่ นโยบายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศด้วยแนวคิด BCG Model เพื่อเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ สำคัญที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้าง อาชีพที่หลากหลาย การหมุนเวียนของ รายได้ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน ชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาคได้อย่างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไป ” ผวช. กล่าว









ทั้งนี้ ภายในงานมีการแสดง​นิทรรศการและผลิตภัณฑ์​จากโครงการ​วิจัย​ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2 ทั้ง 7 ภูมิภาค​ อาทิเช่น​ ภาคกลาง​ " ผลิตภัณฑ์​กัญชาน้ำผึ้ง​มะนาว​ จากเครือข่าย​กลุ่ม​ศรีอยุธยา " โดยวิสาหกิจ​ชุมชน​ ตำบล​คลอง​จิก​, ภาคเหนือ​ " ผลิตภัณฑ์​ประดิษฐ์​จากเศษผ้า ", ภาคอีสาน  " ผลิตภัณฑ์​โทนเนอร์​บัวแดง " และ​ ภาคใต้​ " ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก " เป็น​ต้น​ 

















และ การนำเสนอ​ภาพรวม​การดำเนินแผนงาน​ โดย​ ดร.สัญชัย​ เกียรติ​ทรงชัย​ ผู้​อำนวยการ​แผนงานวิจัย, การบรรย​าย ในหัวข้อ​ เรื่อง “ การทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ” โดย นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ (ผอ.โครงการยกระดับมาตราฐานฯ-ทุนสนับสนุน วช.) ผู้อำนวยการสำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวฯ และ การเสวนาแนวทางการนำเสนอ​ผลงานวิจัย​ไปใช้​ประโยชน์​ โดย​ วิทยากรจากหน่วยงาน​ต่าง​ ๆ​ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ นำเสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...