วช. มอบรางวัล " ธนาคารปูม้าชุมชน " ฟื้นปูม้าคืนสู่ทะเลไทย ...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลการประกวด “ ธนาคารปูม้าชุมชน ” เพื่อความยั่งยืน ในงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้มอบรางวัลฯ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน และมี นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานคณะทำงานขยายผลธนาคารปูม้า, นายสมบูรณ์ วงศ์กาด อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ นายสุชัช ศุภวัฒนาเจริฐ หัวหน้าภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านสัตว์เศรษฐกิจ เข้าร่วมในพิธีมอบรางวัลฯ ณ เวที Highlight Stage ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร







พิธีมอบรางวัลการประกวด " ธนาคารปูม้าชุมชน " ที่ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูปูม้าคืนสู่ทะเลไทย เพื่อความยั่งยืน ที่ วช. เข้าไปสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม ให้ชุมชนต้นแบบกว่า 500 ชุมชนทั่วประเทศ ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปูม้าและปล่อยคืนสู่อ่าวไทย มาตั้งแต่ปี 2561 โดยได้แบ่งประเภทการมอบรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทธนาคารปูม้าชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จำนวน 3 รางวัลได้แก่ รางวัลชมเชย ธนาคารปูม้าบ้านเขาดัน จังหวัดจันทบุรี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ธนาคารปูม้าท่าพยา จังหวัดนครศรีธรรมราช และรางวัลชนะเลิศ ธนาคารปูม้าบ้านดอนสาม (ชมรมอนุรักษ์พันธุ์ปูปากน้ำชุมพร) จังหวัดชุมพร  




2. ประเภทธนาคารปูม้าชุมชนเดิมที่มีการดำเนินการต่อเนื่อง จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ รางวัลชมเชย ธนาคารปูม้าบ้านแหลมสน จังหวัดตราด, รางวัลชมเชย ธนาคารปูม้าบ้านหยงสตาร์ จังหวัดตรัง, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านท้องโตนด จังหวัดชุมพร, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด จังหวัดตรัง และ รางวัลชนะเลิศ ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3. ประเภทศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าชุมชน จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชมเชย ธนาคารปูม้าบ้านหินกบ (ศูนย์เรียนรู้การเพาะและอนุบาลลูกปูม้าเพื่ออนุรักษ์โดยชุมชนบ้านหินกบ) จังหวัดชุมพร, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ธนาคารปูม้าชุมชนสำเภาคว่ำ จังหวัดจันทบุรี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์เรียนรู้การขยายพันธ์ุปูม้าและธนาคารปูม้าแบบชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และ รางวัลชนะเลิศ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช 



นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษ รางวัลธนาคารปูม้าที่มีศักยภาพสูงด้านการพัฒนา 1 รางวัล คือ ธนาคารปูม้าบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด


ธนาคารปูม้า (Crab Bank) เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่รัฐบาลที่จะฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรปูม้าในทะเลไทย โดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มจำนวนลูกปูม้าในธรรมชาติให้เจริญเติบโตกลับแทนไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ด้วยวิธีง่าย ๆ แต่ให้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล ซึ่งธนาคารปูม้าในแต่ละชุมชนมีกิจกรรมและรูปแบบที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่มีหลักการที่คล้ายกันคือ คนในชุมชนจะร่วมมือกันนำแม่ปูที่มีไข่แก่นอกกระดองมาฝากไว้ในกระชังหรือคอกเพื่อให้แม่ปูม้า ปล่อยไข่ก่อนนำแม่ปูไปขาย แล้วจึงนำลูกปูม้าที่เพาะฟักจากไข่ไปปล่อยคืนสู่ทะเล เป็นอาหารและแหล่งที่มาของรายได้ชาวประมงต่อไป ...



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...