“ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ” ปาฐกถาพิเศษ “ มหาวิทยาลัยวิจัยกับบทบาทการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ” ย้ำมหาวิทยาลัยวิจัยจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่มุ่งไปสู่ BCG ...
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี2564 (Thailand Research Expo 2021) เรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยกับบทบาทการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ วันนี้ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ เซนทรัลเวิลด์ โดยระบุว่า.. มหาวิทยาลัยวิจัยจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่มุ่งไปสู่ BCG ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกและประเทศไทยจะนำเรื่องนี้ขยายสู่การประชุมเอเปค ซึ่งเป็นเจ้าภาพในปีหน้าด้วย ทั้งนี้ BCG เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนมากมายรวมถึงตอบโจทย์ด้านSCG คือความยั่งยืนตามเป้าหมายสหประชาชาติด้วย
“ เคยพูดมาหลายเวทีแล้วว่า มหาวิทยาลัยจะต้องทำงานไม่มีวันสิ้นสุดจะต้องทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยวิจัยถ้าประเทศไทยจะเป็นไทยแลนด์4.0 จะต้องตอบโจทย์ได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้แต่การที่เราจะไปถึงได้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติในการขับเคลื่อน โดยมหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่เป็น BCG Driver ” ดร.สุวิทย์ กล่าว
อดีต รมว.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า.. ขณะนี้เราถูกเทคโนโลยีเข้ามาDisruptionเป็นรอบที่ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนจะปรับตัวได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับมหาวิทยาลัยวิจัย ต้องเตรียมพร้อมองค์ความรู้ให้มากพอ ภูมิทัศน์ต่างๆที่เปลี่ยนไปจะต้องมีการเตรียมคนไปสู่ความเป็นพลเมืองของโลก มหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศต้องปลุกคนให้ตื่นและมองไปข้างหน้าด้วยความท้าทาย ซึ่งสิ่งที่ท้าทายเราขณะนี้นอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีเรื่องพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนรุ่นใหม่ เทคโนโลยีใหม่ๆ งานวิจัยจะตอบโจทย์เหล่านี้อย่างไร ล้วนเป็นโจทย์ที่ท้าทายทั้งสิ้น มหาวิทยาลัยจะต้องเปลี่ยนMission ใหม่ให้กับสังคมและโลก เพราะเราทำให้โลกอยู่นิ่งไม่ได้แต่ทำให้เราเติบโตขึ้นได้ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สูงขึ้น จึงขอให้มีความภาคภูมิใจในความคาดหวังความเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นน้ำแห่งการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยวิจัยจะต้องเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศและสังคม มหาลัยทำวิจัยเรื่องอยากๆให้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนในสังคมสามารถใช้ประโยชน์ได้ และขณะเดียวกันต้องเปลี่ยนมายด์เซ็ตคน ดังนั้นจากบริบทของมหาลัยวิจัยต้องเปลี่ยนพาราดามใหม่คือต้องชี้นำนวัตกรรมก่อน ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น