" ทนายกระดูกเหล็ก " พา ลุงสมชาย,ป้าเพชรรัตน์ ร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบ ผอ.เขต เข้าข่าย ม.157 กรณีสั่งทุบตึก ...

ที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. / เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 1 ก.พ.64  ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช หรือ ทนายกระดูกเหล็ก ได้พาคุณสมชาย และคุณเพชรรัตน์ อุตมะวณิชย์ ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของอาคารย่านสวนมะลิที่มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจากผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เดินทางเข้ายื่นหนังสือให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เข้าข่าย ม.157 กรณีสั่งทุบตึก ที่มีการต่อเติมผิดแบบย่านสวนมะลิ โดยมิชอบ หลังจากที่คุณลุงสมชาย และคุณป้าเพชรรัตน์ อุตมะวณิชย์ ได้ออกมาร้องขอความเป็นธรรมในการไม่ให้เจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เข้ามารื้ออาคารดังกล่าว แต่ทางเจ้าหน้าที่เขตกลับไม่สนใจ ถือคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เข้ารื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งๆ ที่ศาลฎีกา( แผนกปกครอง) มีคำพิพากษาว่า คำสั่งของเขตป้องปรามฯ ที่ให้รื้อถอนดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องมายื่นหนังสือให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 และวันที่ 10 มกราคม 2549 นายสมชาย อุตมะวณิชย์ และนางเพ็ชร รัตน์ อุตมะวณิชย์ 3 สามีภรรยา ได้ซื้ออาคาร 6 ชั้น เลขที่ 32, 34, 36 และ 38 ถนนยุคล 1 แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จากนายฉัตรชัย เกียรติสุขสถิตย์ โดยไม่ทราบมาก่อนว่านายฉัตรชัยฯ มี ข้อพิพาทในเรื่องอาคารข้างเคียงกับนายดําเกิง โอภาเฉลิมพันธุ์ อาคาร 6 ชั้น เลขที่ 54 และ 56 ถนนเฉลิมเขต 3 ฯ มาตั้งแต่ปี 2541 โดยนายดําเกิงฯ ได้ร้องเรียนต่อ ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นายฉัตรชัยฯว่า มีการ ต่อเติม อาคารเลขที่ 32, 34, 36 และ 38 จากชั้น 4 เป็นชั้น 5 และชั้น 6 นายฉัตรชัยฯ ก็ได้ร้องเรียนนายดําเกิง ฯเช่นเดียวกันว่า มีการต่อเติมอาคารชั้น เลขที่ 54 และ 56 จากชั้น 4 เป็นชั้น 5 และชั้น 6 เช่นเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2542 ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในขณะนั้นก็ได้มีคําสั่ง เลขที่ กท. ๙๐๗๗/๒๑๙๗ ให้รื้อถอนอาคารเลขที่ 54 และ 56 ชั้น 5 และชั้น 6 ของนายดําเกิงฯ และมีคําสั่งเลขที่ กท. ๙๐๗๗/๒๑๙๖ ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2542 , คําสั่งเลขที่ กท.๙๐๗๗/๑๕๐๔ ลงวันที่ 12 เมษายน 2542 ให้รื้อถอนอาคารเลขที่ 32, 34, 36 และ 38 ชั้น 5 และชั้น 6 ของนายฉัตรชัยฯ และต่อมาเมื่อนายสมชายฯและนางเพ็ชรรัตน์ฯ ได้ซื้อห้อง ดังกล่าวมาจากนายฉัตรชัยฯ โดยไม่ทราบถึงคําสั่งดังกล่าว ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในขณะนั้น ก็ ได้ออกคําสั่งเลขที่ กท.๔๑๐๓/๔๙๐๑ ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2548 และ คําสั่งเลขที่ กท.๔๑๐๓/๑๗๕๓ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ให้นายสมชายฯ และนางเพ็ชรรัตน์ฯ รื้อถอนอาคารดังกล่าว

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า อาคารเลขที่ 32, 34, 36, 38ฯ ของนายฉัตรชัยฯ อาคารเลขที่ 54 และ 56 ของ นายดําเกิงฯ และอาคารอื่นๆอีก 27 คูหารวมเป็น 33 คูหา ดังกล่าว ที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่ม น้ําหนักให้แก่อาคารนั้นมาก จึงต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามมาตรา 6 ประกอบมาตร 7(2) แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 แต่ปรากฏว่าอาคารเลขที่ 32, 34, 36, 38ฯ ของนาย ฉัตรชัยฯ อาคารเลขที่ 54 และ 56 ของนายดําเกิงฯ และอาคารอื่นๆ อีก 27 คูหา เจ้าของอาคารมิได้มีการขอ อนุญาตดัดแปลงหรือต่อเติมอาคารจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 แต่อย่างใด

เมื่ออาคารดังกล่าวทั้ง 33 คูหา มีการดัดแปลงในส่วนนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง กฎหมายดังกล่าว ซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แต่เมื่อการดัดแปลงในส่วนนี้เกิดขึ้นก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการ ก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงไม่ต้องห้ามตามข้อ 83 แห่งข้อบัญญัติดังกล่าว และถือว่าเป็นกรณีที่ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายต้องมีคําสั่งแจ้งให้นายฉัตรชัยฯ หรือนายดําเกิงฯ แก้ไขตามมาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เสียก่อน หากไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรู พ่าย จึงจะมีคําสั่งให้รื้อถอนอาคารที่มีการดัดแปลงในส่วนนี้ได้

ดังนั้นการที่ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคําสั่งเลขที่ กท.๙๐๗๗/๒๑๙๗ ให้รื้อถอนอาคาร เลขที่ 54 และ 56 ชั้น 5 และชั้น 6 ของนายดําเกิงฯ และมีคําสั่งเลขที่ กท.๙๐๗๗/๒๑๙๖, คําสั่งเลขที่ กท. ๙๐๐๗/๑๕๐๔ ลงวันที่ 12 เมษายน 2542 ให้รื้อถอนอาคารเลขที่ 32, 34, 36 และ 38 ชั้น 5 และชั้น 6 ของนายฉัตรชัยฯ และมีคําสั่งเลขที่ กท.๔๑๐๓/๔๙๐๑ ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2528 และ คําสั่งเลขที่ กท. ๔๑๐๓/๑๗๕๓ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ให้นายสมชายฯ และนางเพ็ชรรัตน์ฯ รื้อถอนอาคารชั้น 5 และชั้น 6 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ศาลฎีกาได้มีคําพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วคือ คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๔๕/๒๕๕๔ ระหว่าง นายดําเกิง โอภาเฉลิมพันธุ์ โจทก์ กับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ๑, ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ที่ ๒, นายสถาพร สุรพงษ์พิทักษ์ ที่ ๓ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามพระราชบัญญัติควบคุม อาคาร ๒๕๒๒ ที่ ๔ จําเลย

ในวันที่ 19 มกราคม 2564 นายสมชายฯและนางเพ็ชรรัตน์ฯได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมธรรมต่อ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ขอให้เพิกถอนคําสั่งทั้ง 5 คําสั่งดังกล่าวและ ออกคําสั่งใหม่ให้แก้ไขให้ถูกต้อง ต่อมาในวันที่ 22 มกราคม 2564 นายสมชาย และ นางเพ็ชรรัตน์ ได้ยื่นคําร้องขอความเป็นธรรม (เพิ่มเติม)ต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อทบทวนคําสั่งทางปกครอง ที่บังคับให้รื้อถอนอาคาร ด้วยการขอพิจารณาใหม่ กรณีมีพยานหลักฐานใหม่ตามนัยมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยให้เพิกถอนคําสั่งรื้อถอนอาคารของนายสมชายฯและนางเพ็ชรรัตน์ฯ อาคารเลขที่ 32 ถึง 38 แต่ปรากฏว่าผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายได้พูดว่า “ ไม่สนใจคําร้องขอความเป็นธรรม ของผู้ร้องที่ ๑ และผู้ร้องที่ ๒ ที่ยื่นมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 และวันที่ 22 มกราคม 2564 ทั้ง 2 ฉบับ จะทําการรื้อถอน  ตามคําสั่งศาลปกครองสูงสุด และรอเพียงงบประมาณจากกรุงเทพมหานครเท่านั้น และให้ผู้ ร้องที่ ๑ และผู้ร้องที่ ๒ มีโอกาสเลือกได้ 2 ทาง คือ 1.จะรื้อถอนเอง หรือ 2.จะให้ทางเขตทําการรื้อถอน หลังจากงบประมาณมา ส่วนที่ผู้ร้องที่ ๑ และผู้ร้องที่ ๒ ได้ยื่นคําร้องมาขอให้ตรวจสอบอาคารทั้งหมดรวม ทั้งหมด 33 คูหา ซึ่งก่อสร้างพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2507 และมีการสร้างชั้น 5 ถึงชั้น 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 นั้น ก็จะตรวจสอบให้แต่จะรื้อถอนอาคารผู้ร้องที่ ๑ และผู้ร้องที่ ๒ ก่อน แล้วถึงจะมีคําสั่งให้อาคารที่เหลืออีก 27 ห้อง ค่อยสั่งให้แก้ไข(ตามแบบ ค.๑) ” จากคําพูดดังกล่าวของนายยุทธนา ป่าไม้ ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แสดงว่า นายยุทธนา ป่า ไม้ ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ไม่สนใจพิจารณาคําร้องขอความเป็นธรรมที่ผู้ร้องที่ ๑ และผู้ร้องที่ ๒ ได้ ยื่นไว้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 และวันที่ 22 มกราคม 2564 แต่อย่างใด อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรา 39 ทวิ, มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และตามคําพิพากษาศาลฎีกา(แผนก คดีปกครอง) ที่ ๓๓๘๕/๒๕๕๔ ถือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ นายสมชายฯและนางเพ็ชรรัตน์ฯ นอกจากนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้า พนักงานท้องถิ่นเจ้าของอํานาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และในฐานะผู้บังคับบัญชาผู้มอบ อํานาจให้ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายปฏิบัติราชการแทน มีหน้าที่ตรวจสอบและ ควบคุมการใช้อํานาจของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารต่อประชาชนด้วยความเสมอภาค และมีความชอบธรรม จากพยานหลักฐานใหม่และผลของคําพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวชี้ชัดว่า คําสั่งทั้ง 5 ฉบับ ดังกล่าว เป็นคําสั่งที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมาย หากทราบแล้วไม่เพิกถอนคําสั่งดังกล่าว และมีคําสั่งใหม่ให้แก้ไขตามมาตรา 39 ทวิ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก็ถือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จึงได้มายื่นหนังสือกล่าวโทษ  นายยุทธนา ป่าไม้ ผู้อํานวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อ ป.ป.ช.

นอกจากนี้หลังจากที่ นายสมชาย และ นางเพ็ชรรัตน์ ได้ยื่นหนังสือกล่าวโทษที่ ปปช. แล้ว ก็ยังไป ยื่นหนังสือถวายฎีกาพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันนี้อีกด้วย ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...